
ย้ำอีกครั้ง รถติดแก๊สทุกระบบ ต้องตรวจสภาพทุกปี
ในปัจจุบันเริ่มกลับมานิยมมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้น ในช่วงนี้ ที่อาจจะกลับไปแตะ 40-45 บาท ด้วยสถานการณ์ ความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น ไหนจะ ปัจจัยอื่นๆ อาทิ โรคระบาด และ สงครามทางฟากยุโรป จึ่งทำให้สถานการณ์ ข้าวของแพงขึ้น จากปัจจัยเริ่มต้นที่ต้นทุน เชื้อเพลิง ถึงแม้ กระแสรถ EV และ HEV มาแรงในช่วงนี้ แต่จะให้ซื้อรถใหม่ใน ณ เวลานี้คงจะยากอยู่ แม้รัฐบาลจะมีนโยบาย ช่วยเหลือ ลดภาษีสรรพสามิตทำให้รถมีราคาลดลง สูงสุด 150000 บาท ราคาน่าจับต้อง แต่สถานการณ์เศรษฐกิจบางครอบครัวก็ยังไม่ฟื้นตัว ก็ต้องไปเอารถคู่ใจมาดัดแปลงใช้ แก๊ส หรือ ที่ติดตั้งอยู่แล้วก็เอามาเช็คตรวจสภาพ และดูแลรักษาเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

ในตอนนี้รถยนต์ใหม่หรือรถเก่าที่ติดแก๊สทั้งจากโรงงานผู้ผลิตหรืออู่แก๊ส ก็จำเป็นต้องตรวจสภาพเช่นกัน นั่นคือ LPG ต้องตรวจสภาพทุก 1 ปี และ NGV ต้องตรวจสภาพทุก 1 ปี! โดยมีเงื่อนไขสำหรับ LPG ดังนี้

การชำระภาษีรถยนต์ที่มีการติดตั้ง LPG มีผลบังคับใช้ 2 กุมภาพันธ์ 2561
1. รถยนต์ที่ติดตั้งจากโรงงานหรือรถที่ที่ผลิตในประเทศไทย ให้ทําการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก หลังจากนั้นให้ทําการตรวจและทดสอบ โดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน 30 วัน ก่อนชําระภาษีประจําปีของปีที่ 4 หลังจากนั้น ให้ทําการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน 30 วัน ก่อนชําระภาษีประจําปีทุกปี *กรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้แตกต่างไปจากการติดตั้งของผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ ก่อนครบกําหนดชําระภาษีประจําปีของปีที่ 4 ให้ทําการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน 30 วัน ก่อนมาดํา เนินการทางทะเบียน 2. รถที่ติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์โดยผู้ติดตั้งทั่วไป หรือผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ให้ทําการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน 30 วัน ก่อนแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือก่อนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น ให้ทําการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปภายใน 30 วัน ก่อนชําระ ภาษีประจําปีทุกปี 3. กรณีเปลี่ยนแปลงถังให้ทําการการตรวจและทดสอบภายใน 30 วัน ก่อนมาดําเนินการทางทะเบียน 4. กรณีการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง หรือการดําเนินการทางทะเบียน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงถังและการเปลี่ยนแปลงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ก่อนครบกําหนดชําระภาษีประจําปีในปีนั้นน้อยกว่า 180 วัน ให้นํารถเข้ารับการตรวจและทดสอบครั้งต่อไป ภายใน 30 วัน ก่อนชําระภาษีประจําปีของปีถัดไป 5. รถที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงใหม่ ต้องทําการติดตั้งโดยผู้ติดตั้ง และผ่านการตรวจและทดสอบทุกครั้งทีมีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้ง 6. การติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สําหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเข้ากับเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องทําการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งและผ่านการตรวจและทดสอบตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

สรุปการตรวจสภาพอุปกรณ์แก๊สระบบ LPG คือ
- รถยนต์ติดตั้งจากโรงงานใช้ยาวๆ ได้ 3 ปี หลังจากนั้นต้องตรวจทุกปี
- รถยนต์ติดตั้งจากอู่หรือรถนำเข้าที่ติดตั้งแก๊สจากโรงงานใช้ได้ปีแรก หลังจากนั้นต้องตรวจทุกปี
- ถังแก๊ส LPG ติดตั้งใหม่ใช้ได้ยาวๆ 10 ปี หลังจากนั้นต้องตรวจทุกๆ 5 ปี
- สำหรับรถยนต์ที่เพิ่มผ่านการตรวจสภาพระบบแก๊สมาแล้วแบบ 5 ปี ก็ให้ใช้จนครบกำหนดหลังจากนั้นต้องตรวจทุกปี

นอกจากนี้ ทางกรมการขนส่งทางบก ประกาศเตือนเจ้าของรถที่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซแต่ละชนิดดังนี้
- รถยนต์ที่ใช้ CNG/NGV ต้องเข้ารับการตรวจทดสอบเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบจากกรมการขนส่งทางบกเป็นประจำทุกปี ยกเว้น เฉพาะการติดตั้งก๊าซ CNG จากโรงงานที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ (Original Equipment Manufacturer) ให้ตรวจและทดสอบหลังจากจดทะเบียนครั้งแรกมาแล้ว 3 ปี และครั้งต่อไปต้องตรวจทุกปี
- สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG ให้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบทุก 1 ปี นับแต่วันแจ้งการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง เว้นติดตั้งจากโรงงานไม่ต้องตรวจสอบในปีแรก หลังนั้นต้องตรวจทุกๆ ปี
การใช้อุปกรณ์ก๊าซ CNG หรือ LPG กับผู้ติดตั้งที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกนั้น ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่ามีขั้นตอนวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องปลอดภัย พร้อมกับอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และเมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วเจ้าของรถจะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ และแจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในสมุดคู่มือทะเบียนรถให้ถูกต้องภายใน 15 วัน หลังจากที่ติดตั้งแล้ว ณ กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ
หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ได้แก่
1.สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ(ตัวจริง) หรือ สำเนาทะเบียนรถ
2.ใบรับรองการติดตั้งในกรณีติดตั้งใหม่ หรือ เปลี่ยนถัง
3.ใบวิศวะตรวจสอบ
4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ
หากสนใจเข้ารับบริการตรวจสภาพแก๊ส LPG เพื่อต่อภาษีประจำปี
081-333-9593
==============================
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 - 18.30 น.
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่นี้ หรือ
Line@ : @sccgas หรือจิ้มลิ้งนี้ได้เลย >> https://line.me/R/ti/p/%40sccgas
.
FB : https://m.me/versusnon
แผนที่
https://goo.gl/maps/mHMoKEmWzhjRJB9L9

ถังแก๊ส LPG
ว่าด้วยเรื่องถังแก๊ส เมื่อเราเลือกที่จะติดตั้งแก๊ส LPG
มาดูว่าเราจะเลือก แบบไหน
- ถังแคปซูล เหมาะกับคนที่ต้องการเดินทางไกล และใช้ยางอะไหล่ เราจะเสียพื้นที่เก็บของด้านหลัง 1 : 3 หรือ 2:3 แล้วแต่พื้นที่สัมภาระด้านหลังของรถเรา
- ถังโดนัทถูกติดตั้งแทนที่ยางอะไหล่ โดยวัตถุประสงค์หลักคือต้องการพื้นที่เก็บของด้านหลัง เช่น คนที่ขายของออนไลน์ / คนที่เดินทางต่างประเทศ หรือ ต่างจังหวัดบ่อย ต้องใช้เก็บกระเป๋าเป็นต้น
1.ถังแคปซูล
2.ถังโดนัท
ซึ่งถังโดนัทก็มี แบ่งแยก ตามพื้นที่ติดตั้ง อีก แบ่งออกเป็น
– แบบวาล์วใน คือ วาล์วอยู่ในรูตรงกลาง เหมาะสำหรับติดตั้งภายในรถ
– แบบวาล์วนอก คือ วาล์วจะอยู่ด้านนอกถัง เหมาะสำหรับติดตั้งภายนอกใต้ท้องรถยนต์
เมื่อเกิดเหตุสามารถปิดวาล์วได้ง่ายเพราะอยู่ด้านนอก ถ้าต้องมามุดใต้ท้องแล้วต้องมาปิดวาล์วด้านในคงจะยุ่งน่าดูเหมือนกัน
อันนี้เป็นการติดตั้ง ถังโดนัทแบบวาล์วนอกนะครับ
รายละเอียดความจุ น้ำหนัก ของถังแก๊ส LPG แบบแคปซูล
1. ถังแก๊ส ขนาด 36 ลิตร
น้ำหนักถังแก๊สเปล่า 13.78 กิโลกรัม
บรรจุแก๊สได้ 30.6 ลิตร * **
รวมเมื่อเติมแล้วหนัก 30.61 กิโลกรัม
-------------------------------------------------------------
2. ถังแก๊ส ขนาด 48 ลิตร
น้ำหนักถังเปล่า 18.24 กิโลกรัม
บรรจุแก๊สได้ 40.8 ลิตร * **
รวมเมื่อเติมแก๊สแล้วหนัก 40.68 กิโลกรัม (ผู้หญิงตัวเล็กๆบางๆคนนึง)
---------------------------------------------------------
3. ถังแก๊ส ขนาด 58 ลิตร
น้ำหนักถังแก๊สเปล่า 22.04 กิโลกรัม
บรรจุแก๊สได้ 49.3 ลิตร * **
รวมเมื่อเติมแก๊สแล้วหนัก 49.15 กิโลกรัม
---------------------------------------------------------
4. ถังแก๊ส ขนาด 65 ลิตร
น้ำหนักถังแก๊สเปล่า 24.7 กิโลกรัม
บรรจุแก๊สได้ 55.25 ลิตร * **
รวมเมื่อเติมแก๊สแล้วหนัก 55.08 กิโลกรัม
-----------------------------------------------------------
5. ถังแก๊ส ขนาด 75 ลิตร
น้ำหนักถังแก๊สเปล่า 28.5 กิโลกรัม
บรรจุแก๊สได้ 63.75 ลิตร * **
รวมเมื่อเติมแก๊สแล้วหนัก 63.56 กิโลกรัม
-----------------------------------------------------------
6. ถังแก๊ส ขนาด 95 ลิตร
น้ำหนักถังเปล่า 36.1 กิโลกรัม
บรรจุแก๊สได้ 80.75 ลิตร * **
รวมเมื่อเติมแก๊สแล้ว 80.51 กิโลกรัม
------------------------------------------------------------
*แก๊ส 1 ลิตรหนักประมาณ 0.55 กิโลกรัม
**เติมได้ 85% ของความจุเพื่อความปลอดภัย
ซึ่งการเลือกขนาดถัง ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ติดตั้ง ว่า สามารถติดตั้งถังขนาดเท่าใด ได้แต่ถ้า สนใจติดตั้งแก๊ส สอบถาม Sccgas
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่นี้ หรือ
Line@: @sccgas หรือจิ้มลิ้งนี้ได้เลย >> https://line.me/R/ti/p/%40sccgas
.
FB : https://m.me/sccgas

ติดแก๊สรถยนต์ เลือก LPG หรือ NGV ดี?
ติดแก๊สรถยนต์ เลือก LPG หรือ NGV ดี?
อย่างที่เราทราบกันดีว่า การติดตั้งแก๊สรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน คือ เชื้อเพลิง LPG และ NGV หลายท่านอาจสงสัยว่า ควรจะเลือกอะไรดี ซึ่งทั้ง LPG และ NGV ต่างมีข้อดีและความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งการตัดสินใจอาจต้องเลือกตามความเหมาะสมในการใช้งานในชีวิตประจำวันของแต่ละท่าน โดยเชื้อเพลิงทั้ง 2 ชนิด มีความแตกต่างกัน
ข้อมูลในการใช้งาน
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
ระยะทางที่วิ่งได้ในการเติม 1 ครั้ง
จำนวนปั้ม
ราคาเชื้อเพลิง (27 ส.ค. 2561)
อัตราสิ้นเปลือง
การสนับสนุนของภาครัฐ
LPG
15,000 - 33,000 บาท
400กม. (ถัง58ลิตร)
หากจำเป็นต้องเดินทางไกลโดย
ไม่ต้องห่วงจะใช้งานได้ดีกว่า
มากกว่า 400 ปั้ม ทั่วประเทศ
12 - 14 บาท ( แล้วแต่พื้นที่)
11.11 กม/ลิตร หรือ คิดเป็น
0.92บาท / กม ถูกกว่า
แก๊สโซฮอล 56%
ไม่สนับสนุน
NGV
35,000 - 58,000 บาท
150 - 180 กม (ถัง70 ลิตร)
เหมาะกับผู้ที่เดินทางเส้นทางเดิม
ทุกวัน ที่รู้ว่ามีปั้ม NGV อยู่
ประมาณ300 ปั้ม
14.58/กก
15.26 กม/กก หรือ คิดเป็น
0.95 บาท / กม ถูกกว่า
แก๊สโซฮอล 54%
ไม่สนับสนุน
รายละเอียดทางเทคนิค
องค์ประกอบหลักทางเคมี
สถานะ
น้ำหนัก
ความดันเมื่อจัดเก็บในถังบรรจุ
ค่าความร้อน
อุณหภูมิติดไฟ
C3 (Propane)
และ C4 (Butane)
เป็นก๊าซ แต่จะเปลี่ยนสถานะ
เป็นของเหลวเมื่อเก็บในถัง
หนักกว่าอากาศ
4 - 7 บาร์
25,380 BTU / ลิตร
481 องศาเซลเซียล
C1 (Methane)
เป็นก๊าซ
เบากว่าอากาศ
200 - 220 บาร์
35,947 BTU/กิโลกรัม
650 องศาเซลเซ๊ยล
หมายเหตุ
*ข้อมูลการทดสอบอัตราสิ้นเปลือง เป็นข้อมูลจาก โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบ ในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน
รายละเอียดข้อมูลทางเทคนิค ขอขอบคุณ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน (pttplc.com)
โดยที่ SCCGAS นั้น ในการติดตั้งแก๊สรถยนต์ ทั้ง LPG และ NGV สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ ระบบดูด (Fumigation) และ ระบบหัวฉีด (Sequential Injection) ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ติดแก๊สระบบหัวฉีดหรือระบบดูด? ระบบไหนเหมาะกับรถคุณ?
ตรงจุดนี้เข้าใจว่าหลายคนอาจมีอาการรักพี่เสียดายน้อง แต่เราขอเปรียบเทียบง่ายๆ แบบเน้นการใช้งานจริง ให้คุณได้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

ประกันอัคคีภัยสำหรับผู้ที่ติดตั้ง AC AUTOGAS
ประกันอัคคีภัยสำหรับผู้ที่ติดตั้ง AC AUTOGAS ของแท้เท่านั้น* วงเงินการรับประกันสูงสุดไม่เกิน 1,400,000 บาท ระยะเวลารับประกัน 1 ปี
โดยมีความคุ้มครองดังนี้
1.กรณีเกิดเพลิงไหม้ต่อรถยนต์ที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ ตามรายการสินค้าที่เอาประกันอัคคีภัย และมีอุปกรณ์แก๊สเป็นต้นเหตุ มีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดไม่เกิน 1,000,000 บาท
2.กรณีผู้ขับขี่และผู้โดยสารเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ จากกรณีเกิดเพลิงไหม้ (ตามเงื่อนไขข้อ 1.) ต้องรักษาพยาบาลสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร คุ้มครองโดยไม่เกิน 200,000 บาทต่อคน และไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยอื่นเพิ่มเติมได้อีก
การรับประกันจะยึดถือตามบาร์โค๊ด (BARCODE) ใบต่ออายุประกันอัคคีภัย ที่ออกโดยศูนย์บริการที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับมาตรฐาน AC PARTNER เท่านั้น และระยะเวลาที่เริ่มคุ้มครองนับจากวันที่ในใบต่ออายุประกันภัย โดยศูนย์ฯ ต้องส่งเอกสารดังกล่าวกลับมายังบริษัทฯ หรือลงทะเบียนออนไลน์ (REGISTER ONLINE) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ภายใน 7 วัน นับจากออกเอกสาร จึงจะถือว่าได้รับความคุ้มครองอย่างสมบูรณ์
* หากบริษัทฯ ตรวจพบภายหลัง ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกความคุ้มครอง
เงื่อนไขการรับประกันภัย
การรับประกันสงวนสิทธิ์เฉพาะรถที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์แก๊สของ AC AUTOGAS ที่นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ไซออนเทค จำกัด เท่านั้น ซึ่งสินค้าจะต้องมีชุดหมายเลขประจำอุปกรณ์ (SERIAL NUMBER) ในรูปแบบบาร์โค๊ด (BARCODE) ติดที่อุปกรณ์ โดยกำหนดให้มีอุปกรณ์ของระบบแก๊ส LPG และ CNG ดังต่อไปนี้
1. กล่องประมวลผลแก๊ส (ECU)
2. อุปกรณ์วัดแรงดันแก๊ส (MAP SENSOR)
3. ชุดสายไฟ (HARNESS)
4. สวิทช์เลือกเชื้อเพลิง (SWITCH)
ข้อยกเว้นการรับประกันอัคคีภัย
ความรับผิดชอบใดๆ อันมีสาเหตุมาจาก
1. การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ชุดติดตั้ง และวัสดุสิ้นเปลืองทั่วไปบางส่วนที่เสื่อมสภาพ ตามอายุการใช้งานปกติ
2. การขาดการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ตามสภาพ เช่น การตรวจสอบท่อทางของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
3. เครื่องยนต์ที่มีการดัดแปลง หรือติดอุปกรณ์เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาไหม้ของเครื่องยนต์ นอกเหนือจากมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์ โดยโรงงานประกอบรถยนต์ หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์
4. ความเสียหายอันเนื่องจากอุบัติเหตุทุกกรณี
5. การใช้ในการแข่งขันความเร็ว
6. ความเสียหายต่อเนื่องทุกชนิด
7. การใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมาย เช่น ใช้รถยนต์ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยาเสพติด เป็นต้น
8. การเสื่อมราคา หรือการสึกหรอของเครื่องยนต์
9. การยึดท่อ หรือขันแคล้มรัดท่อที่เกิดจากการติดตั้ง
10. การใช้รถยนต์ในสงคราม การกบฏ การปฏิวัติ การทำรัฐประหาร การก่อการร้าย